หน้าเว็บ

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แอบเล่าก่อน : สี่สถานที่สวยงามของคุมะมง

(เขียนและแปลจาก Mappuru นิตยสารท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่น โดย ARARESAMA ทั้งหมด)


แอบเล่าก่อนไป(เล่า)จริง



            สี่สถานที่อันโด่งดังของจังหวัดคุมาโมโต้ที่ได้เกริ่นไปในตอนต้น ที่มีผลทำให้คุมาโมโต้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ก็คงไม่พ้น อะโซะซัง ภูเขาไฟลูกใหญ่กับอาณาบริเวณที่กว้างขวาง ฮิโตะโยชิ เมืองแห่งสีสันของใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ผลิ คุมาโมโตะ เมืองแห่งประวัติศาสตร์ ปราสาทหินแกร่งที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น และ อามาคุสะ แหล่งรวมอารยธรรมซีกโลกตะวันออกกับซีกโลกตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน เมืองสวรรค์ของผู้ชื่นชอบทะเล ภูเขา หมู่แมกไม้ และอากาศบริสุทธิ์สบาย


อะโซะซัง ดินแดนแห่งภูเขาไฟที่มีความหลากหลายไปด้วยนานาสรรพสิ่งมีชีวิต ทั้งต้นไม้และสัตว์ มีธรรมชาติคลอบคลุมบริเวณโดยกว้าง เพราะตั้งอยู่บนแผ่นของเปลือกโลกที่เคยมีการเคลื่อนไหวแล้วปะทุออกมาเมื่อหลายหมื่นปีก่อน ทำให้มีชื่อเสียงด้านอาหารการเพาะปลูก (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Kumamoto หนึ่งในเจแปน) ตลอดจนการท่องเที่ยวที่ชวนให้ตื่นตาตื่นใจ


            ฮิโตะโยชิ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีอายุถึง 700 ปี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดที่น้อยคนนักให้ความสนใจโดยเฉพาะนักท่องเที่ยว แต่เพราะเป็นคิวชู ดินแดนที่เต็มไปด้วยกลิ่นไอทางประวัติศาสตร์ ทำให้หลายคนเริ่มให้ความสนใจกันมากขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง นอกจากใบไม้และหุบเขาที่ลึกที่สุด ใจกลางของเกาะคิวชูแล้ว ก็ไม่ควรพลาดความท้าทายบนแม่น้ำคุมะ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตเมืองยาสุอิชิโระและฮิโตะโยชิด้วยการล่องแพท้าความเร็วและความเย็นของสายน้ำเพื่อชมธรรมชาติ


คุมาโมโต้ ศูนย์กลางของจังหวัดเปรียบเหมือนเมืองหลวงที่มีความงดงาม มีอดีตที่ยาวนานนับตั้งแต่สมัยเอโดะที่ได้เริ่มให้มีการนำหินแกรนิตจำนวนถึง 5,400,000 ก้อน มาก่อร่างสร้างตัวเป็นปราสาทอันโด่งดังในปัจจุบันนี้ แถมด้วยระหว่างทางที่ไปยังตัวปราสาท ยังมีร้านรวงเรียงรายเพิ่มเข้ามา ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเป็นของฝากที่รอให้เหล่านักท่องเที่ยวเข้าไปจับจองเพื่อเป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมอันงดงามจากดินแดนแห่งนี้


อามาคุสะ เมืองทางใต้อีกเมืองหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายเกาะ มีอาณาเขตกว้างขวางที่ติดกับทะเลและมีเกาะเล็กเกาะน้อยอีกถึง120เกาะ ซึ่งเชื่อมด้วยสะพานอีกถึง 5 สะพานในการเชื่อมระหว่างเกาะกับเกาะ เกาะกับแผ่นดินใหญ่ที่รอให้เราได้ข้ามไปเยือนความงดงามกับกลิ่นอายแห่งท้องทะเล สวรรค์แดนใต้ของเมืองน้องหมีแห่งนี้...


 

เรื่องเล่า กับ ของฝาก

(เขียนและแปลจาก Mappuru นิตยสารท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่น โดย ARARESAMA ทั้งหมด)

เรื่องเล่า กับ ของฝาก   


เมื่อไปเที่ยวที่ไหนก็ย่อมต้องมีของฝากติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนทางบ้านหรือเพื่อนฝูงกันเป็นธรรมดา และเรื่องจริงที่ว่า ทุกคนย่อมชอบของฝาก (กับคนที่เป็นฝ่ายรับล่ะนะ) เพราะนอกจากคนซื้อซึ่งบางทีก็เครียดเหมือนกันเพราะไม่รู้จะซื้ออะไรให้ดี ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่มักจะพบกันบ่อยก็คือ คนซื้อดันเที่ยวเยอะไปหน่อย จนตังค์นี่ถ้าเหลือได้ถือว่าเก่งมากทีเดียว ก่อนจบในครั้งนี้เราจึงขอลาไปด้วยของฝากที่ทั้งอร่อย ทั้งถูก ที่สำคัญยังได้กลิ่นของความเป็นจังหวัดคุมาโมโต้กลับไปฝากถึงมือพ่อแม่พี่น้องซึ่งกำลังรอคอยอยู่ด้วยอย่างมีความหวัง ของฝากที่ว่านี้ก็คือ โมจิ...
            โมจิ ของที่นี่ถูกเรียกกันว่าเป็น Kosode ที่เหมือนกับชื่อของเสื้อคลุมกิโมโนของญี่ปุ่น เจ้าโมจิตัวนี้ไม่เหมือนโมจิทั่วไปของญี่ปุ่น หรือไม่เหมือนโมจิที่บ้านเราหรอกนะ เพราะตัวแป้งของมันทำมาจากข้าวของคุมาโมโต้กันเลยทีเดียวเชียว


มีเรื่องเล่าสนุกๆ ที่พอฟังๆไปก็คลับคล้ายคลับคลายังกับเหมือนเรื่องเล่าของไทยสักเรื่องหนึ่ง ที่จังหวัดนี้ก็มีไม่แพ้กัน เรื่องมีอยู่ว่า ที่เมืองอูโตะ (อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด) เมื่อครั้งสมัยเอโดะนั้น มีเจ้านายท่านหนึ่งได้เดินทางมายังหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองอูโตะเข้าพอดี ท้องเกิดร้องจึงเข้าไปในร้านซุปดันโงะข้างทาง (ซุปดันโงะเป็นอย่างไร โปรดดูรายละเอียดได้ที่ 5 อาหารท้องถิ่นยอดฮิตของชาวคุมาโมโต้) ปรากฏว่าท่านไม่มีตังค์ติดตัวมาซักกะบาท ท่านก็เลยหยิบแป้งข้าวที่พกมากับชุดกิโมโนของท่าน แทนที่จะหยิบเงินออกมา อย่างที่คนญี่ปุ่นนิยมเก็บไว้ในเสื้อ แล้วท่านก็เริ่มนวดแป้งนั้น นวด นวด... สรุปท่านได้กินซุปดันโงะรึเปล่าก็ไม่แน่ใจ แต่เมื่อพอไปถึงปราสาท เจ้าของร้านซุปดันโงะเกิดติดใจอะไรบางอย่างในตัวแป้งข้าวที่นวดๆแล้วนั้น จึงได้เดินทางไปพบท่านที่ปราสาทเพื่อขอวิธีการทำทันที
จากนั้นมาจึงได้เกิดการทำขนมดังโงะขึ้น และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย รวมถึงโคโซเดะโมจินี้ด้วยก็เป็นส่วนหนึ่งในขนมรสชาติหวานที่ทำจากแป้งข้าวเช่นเดียวกับดังโงะ และที่อูโตะนี้เองจึงมีของฝากที่มาจากที่มาอันน่าสนใจ ที่มีชื่อว่า โคโซเดะ โมจิ (โมจิที่เกิดจากเสื้อคลุม)
                                                                                                 (ถ่ายทอดเรื่องราวโดย SoRASoRa)


            จากเรื่องเล่าที่เล่ากันมาปากต่อปากนั้น ทำให้เราเห็นถึงสภาพชีวิตและสังคมของคนญี่ปุ่นในสมัยก่อนได้เลย โดยเฉพาะคนคุมาโมโต้ เวลาผู้มีอำนาจ (แทนตัวด้วยเจ้านายคนนั้น) เดินทางไปยังหมู่บ้านๆหนึ่ง ชีวิตเขาไม่ได้ยิ่งใหญ่ หากแต่บางทีก็ไม่มีเงิน ลืมพกโน่นพกนี่มา หรือพกแป้งแทนที่จะเป็นเงิน นี่อาจจะเป็นการเล่าเรื่องที่เรียกอารมณ์ขันให้แก่ชาวบ้านทั่วไปอย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ตามเมื่อได้รู้กันแล้วว่าเจ้าโคโซเดะ โมจินี่เกิดขึ้นมาได้เพราะอะไร ก็มาถึงคิวของส่วนผสมที่สอดไส้อยู่ภายในตัวโมจินี้กันบ้าง โดยทั่วไปคนญี่ปุ่นมักชอบกินโมจิที่มีถั่วแดงเป็นไส้ในพร้อมกับดื่มชาตามไปด้วย นอกจากจะเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย ช่วยป้องกันความเหน็บหนาวจากอากาศภายนอก ความหวานกับความขมที่ตัดกันยิ่งเพิ่มรสชาติความอร่อยให้ดีขึ้นอีกด้วย  

ทว่ากับโคโซเดะ โมจินี้ เราไม่อยากจะแนะนำไส้ถั่วแดงอันเป็นของกินประจำของคนญี่ปุ่นซึ่งเรารู้กันอยู่แล้ว เพราะไหนๆก็มาถึงที่อูโตะ เมืองต้นตำรับของเจ้าโคโซเดะ โมจินี้ทั้งที ไส้ที่เราอยากจะแนะนำก็คือ ไส้เกาลัด ถ้ามาขายที่ไทย เกาลัดคงมีราคาแพงเป็นร้อยสองร้อย แต่เนื่องจากเกาลัดเป็นของที่หาได้ทั่วไปในอูโตะ จึงเป็นของที่เราต้องลองสักครั้งเพื่อที่จะได้กลายเป็นชาวอูโตะขึ้นมาเต็มตัวเวลาที่เดินทางมายังที่นี่ ส่วนราคานั้นแพ็คหนึ่งมีประมาณ 10 ชิ้น อยู่ที่ 300 เยน (หรือประมาณ 90 บาท) เหมาะสมกับคุณค่าที่คู่ควรเป็นของฝากอย่างยิ่ง ที่สำคัญเมื่อค่อยๆเคี้ยวไปชิ้นหนึ่ง รสชาติของแป้งกับเกาลัดที่สัมผัสกันจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวนั้น เหมือนเกาลัดลูกโตๆกำลังผ่านเข้าไปในปากไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูก ความหวานและมันทำให้ลืมรสชาติเกาลัดเมืองไทยจนหมดสิ้น...
เอาล่ะ มาถึงตรงนี้แล้ว ผู้เขียนขออนุญาตจบลงแต่เพียงเท่านี้ ก่อนที่จะพาทั้งผู้อ่านและตัวเองหิวมากไปกว่าเดิม อย่าลืม! คุมาโมโตะ ไม่ใช่แดนดินที่ใครจะปล่อยผ่านไปได้ง่ายๆ หยุดยาวเมื่อไหร่เมื่อนั้นเจอกันที่คุมาโมโต้!
(พบกันตอนหน้า สวัสดี)

BEST SEASONS ทุกฤดูก็สามารถเที่ยวได้



BEST SEASONS ทุกฤดูก็สามารถเที่ยวได้
(เขียนและแปลจาก Mappuru นิตยสารท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่น โดย ARARESAMA ทั้งหมด)

            คุมาโมโต้เป็นจังหวัดที่น้อยคนนักมักจะมองผ่านหรือข้ามไป ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะว่ามีทรัพยากรธรรมชาติอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นจุดเด่นของจังหวัด อาจเทียบได้กับประเทศลาว นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังลาวนั้น ส่วนใหญ่จะไปเที่ยวน้ำตก ภูผา ลำคลองที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติอย่างเรียบง่าย ไม่ได้หวือหวาเหมือนน้ำตกมโหฬารอย่างไนแองการา หรือคดเคี้ยวจนน่าอัศจรรย์ใจแบบแม่น้ำอเมซอน

            คุมาโมโต้เป็นจังหวัดทางตอนใต้ที่มี 4 ฤดูเหมือนทุกๆจังหวัดในญี่ปุ่น เพียงแต่ว่าภูมิภาคคิวชูนี้ค่อนข้างมีความคล้ายเคียงกับเมืองไทยมากที่สุดแล้ว เนื่องจากไม่มีหิมะเย็นเฉียบให้ได้เห็นกันบ่อยนักเพราะมีภูเขาสูงล้อมรอบอยู่มากมาย มีความเขียวของต้นไม้ใบหญ้าชุ่มฉ่ำ ฝนตกเป็นประจำ แต่เงียบกว่ากรุงเทพราวน้ำกับไฟ

ในหน้าร้อนเป็นฤดูแรกที่ธรรมชาติเริ่มส่งผลผลิตอันสวยงามออกมา โดยเริ่มต้นตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม อะโซะ ในอาณาเขตของเมืองโอกุนิ และชายทะเลแถบอามาคุสะ เป็นสิ่งที่ต้องไปให้ได้ ไม่ใช่ความงามของหุบเขาอะโซะซังอย่างเดียว น้ำใสไหลเย็นของอามาคุสะก็เปี่ยมไปด้วยพลัง ชวนให้เคลิบเคลิ้ม (คงพอจะคุ้นหูจากครั้งที่แล้ว อะโซะซัง อย่าเพิ่งทุกข์ร้อน เพราะเราจะนำมาเล่าในครั้งต่อไปเช่นเดียวกับอามาคุสะ)

ถัดจากหน้าร้อนก็เข้าฤดูใบไม้ร่วงในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ระหว่างเมือง ฮิโตะโยชิ (Hitoyoshii) และยาสุอิชิโระ (Yatsuishiro) สีสันของเหล่าใบเมเปิ้ลญี่ปุ่นจะแข่งกันผลิตสีแดง เหลือง และส้ม ออกมาอย่างสว่างไสว งดงามสมกับเป็นเมืองที่อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด ซึ่งเราจะเพลิดเพลินไปพร้อมกับการชมทิวทัศน์นี้จากใต้เท้าของตัวเองโดยที่มีเพียงแค่แผ่นไม้กั้นไว้เท่านั้น! ใช่แล้ว เพราะที่นี่มีสะพานแขวน Gokanoshou การก้มลงไปดูสีสันของใบเมเปิ้ลจากใจกลางส่วนที่ลึกที่สุดของคิวชู ด้วยความสูงจากหุบเขาพันกว่าเมตร เฮือกก แม้สะพานจะค่อนข้างแคบและยาว แถมยังแกว่งไกวชวนใจหวิวทุกครั้งที่เหยียบไปทีละแผ่น แต่ ณ ที่แห่งนี้เองที่คนญี่ปุ่นใช้เป็นสถานที่หลบซ่อนตัวจากการรุกรานในสมัยที่เกียวโตยังเรืองอำนาจ

ฤดูสุดท้าย... ฤดูใบไม้ผลิ เช่นเดียวกับคนญี่ปุ่นที่ตั้งหน้าตั้งตารอการผลิดอกของซากุระในช่วงนี้ หลังจากความหนาวเย็นในฤดูหนาว (ปลายพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์) ที่ได้แช่แข็งพวกเขาเอาไว้อย่างเนิ่นนานแล้วนั้นได้จบสิ้นลง การที่จะได้นั่งจิบชาชมซากุระจากใต้ต้นของซากุระเอง ไม่ใช่แค่ความฝันของคนญี่ปุ่นเท่านั้น นักท่องเที่ยวต่างชาติบางคนถึงกับนั่งเครื่องบินเพื่อมาชมซากุระญี่ปุ่นด้วยตนเอง เพียงเพราะมันเป็นความใฝ่ฝันของตน

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Drive Date (part1) : ความเห็นของการขับรถเดท

(เขียนและแปลโดย ARARESAMA ทั้งหมด)


ขับรถออกเดทเป็นอะไรที่สนุกจะตายเนอะ
แล่นรถริมชายหาด ชมวิวจากท้องฟ้าแสนวิเศษยามราตรีจากบนท้องถนน ไหนจะออกเดินสวีทกัน ฟังเพลงที่ชอบด้วยกัน หยอกล้อกันไปมา
ขับรถออกเดทนี่น่าสนุกจะตายเนอะ ถ้าพูดเรื่องเดทแล้วนี่ มีอะไรเยอะแยะให้ทำกันเลยนะ ขับรถเดทก็นับว่าเยี่ยมเหมือนกันนะ
(จาก บทความ “ขับรถเดทน่ะ เราจะสามารถเรียนรู้ลักษณะนิสัยอะไรหลายๆอย่างที่ยังไม่เคยรู้จากแฟนของเราได้เลยด้วยนะ” - เว็บ Menjoy.com)

ขับรถเดทเป็นสถานที่ที่ช่วยเพิ่มความใกล้ชิดกันกันระหว่างคู่รักให้มากขึ้น
( จาก ขับรถเดทเป็นอะไรที่น่าหงุดหงิดชะมัด! ถ้าเวลาที่เจอรถติดมากๆ แล้วเราเกิดทะเลาะกันขั้นรุนแรงล่ะ? - คุณ งานแต่งงานของทุกๆคน) 

ขับรถเดท ก็เหมือนการทำให้เดทธรรมดาของคุณน่ะกลายเป็นเดทที่ไม่ธรรมดาได้ ความรู้สึกของการเดททั่วไปน่ะจะต่างออกไปจากเดิม นี่แหละที่เรียกว่า “การขับรถเดท” ล่ะ
(จาก บทความ “แบบนี้ก็เป็นการโชว์ทักษะความสามารถของคุณผู้ชาย ความสามารถในการขับรถเดทของคุณผู้ชาย - Men’s Fashion)


การขับรถเป็นสิ่งที่คุณผู้ชายทั้งหลายๆโปรดปราน
ทั้งคุณแฟนเอง หรือคุณสามีก็ตาม  ก็ต้องมีความชอบด้วยกันทั้งนั้นไม่ใช่เหรอ? แน่นอนว่าความชอบนั้นก็ต้องถนัดเป็นพิเศษไม่ใช่เหรอ....

ขับรถก็เป็นความสนใจอย่างหนึ่ง เพราะเกี่ยวกับเครื่องยนต์
(จาก บทความ แนะนำ “คนๆนี้ก็ขับรถเก่งนะ” เทคนิคการขับรถยนต์)

เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของผู้ชายก็คือควรจะขับรถได้น ผู้หญิงมักใส่ใจกับเรื่องนี้นะ
(จาก บทความ “จริงหรือ? คุณสมบัติอย่างหนึ่งของผู้ชายก็คือควรจะขับรถได้นะ!” – ผู้ชายเนื้อหอมที่สาวๆจะตกหลุมรัก )

ใบหน้าตอนขับรถของผู้ชายนี่ มีเสน่ห์อยู่นะ
(จาก บทความ “เสียงของผู้หญิง” “ผู้ชายที่ขับรถไม่ได้” และ “ผู้ชายที่ขับรถแข็งไป” เลือกอย่างไหนดีล่ะ?)

cr.http://matome.naver.jp/odai/2143346461629972201
แปลและเรียบเรียง : sorasora