หน้าเว็บ

FOOD



(เขียนและแปลจาก Mappuru นิตยสารท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่น โดย ARARESAMA ทั้งหมด)

เรื่องเล่า กับ ของฝาก   


เมื่อไปเที่ยวที่ไหนก็ย่อมต้องมีของฝากติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนทางบ้านหรือเพื่อนฝูงกันเป็นธรรมดา และเรื่องจริงที่ว่า ทุกคนย่อมชอบของฝาก (กับคนที่เป็นฝ่ายรับล่ะนะ) เพราะนอกจากคนซื้อซึ่งบางทีก็เครียดเหมือนกันเพราะไม่รู้จะซื้ออะไรให้ดี ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่มักจะพบกันบ่อยก็คือ คนซื้อดันเที่ยวเยอะไปหน่อย จนตังค์นี่ถ้าเหลือได้ถือว่าเก่งมากทีเดียว ก่อนจบในครั้งนี้เราจึงขอลาไปด้วยของฝากที่ทั้งอร่อย ทั้งถูก ที่สำคัญยังได้กลิ่นของความเป็นจังหวัดคุมาโมโต้กลับไปฝากถึงมือพ่อแม่พี่น้องซึ่งกำลังรอคอยอยู่ด้วยอย่างมีความหวัง ของฝากที่ว่านี้ก็คือ โมจิ...
            โมจิ ของที่นี่ถูกเรียกกันว่าเป็น Kosode ที่เหมือนกับชื่อของเสื้อคลุมกิโมโนของญี่ปุ่น เจ้าโมจิตัวนี้ไม่เหมือนโมจิทั่วไปของญี่ปุ่น หรือไม่เหมือนโมจิที่บ้านเราหรอกนะ เพราะตัวแป้งของมันทำมาจากข้าวของคุมาโมโต้กันเลยทีเดียวเชียว


มีเรื่องเล่าสนุกๆ ที่พอฟังๆไปก็คลับคล้ายคลับคลายังกับเหมือนเรื่องเล่าของไทยสักเรื่องหนึ่ง ที่จังหวัดนี้ก็มีไม่แพ้กัน เรื่องมีอยู่ว่า ที่เมืองอูโตะ (อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด) เมื่อครั้งสมัยเอโดะนั้น มีเจ้านายท่านหนึ่งได้เดินทางมายังหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองอูโตะเข้าพอดี ท้องเกิดร้องจึงเข้าไปในร้านซุปดันโงะข้างทาง (ซุปดันโงะเป็นอย่างไร โปรดดูรายละเอียดได้ที่ 5 อาหารท้องถิ่นยอดฮิตของชาวคุมาโมโต้) ปรากฏว่าท่านไม่มีตังค์ติดตัวมาซักกะบาท ท่านก็เลยหยิบแป้งข้าวที่พกมากับชุดกิโมโนของท่าน แทนที่จะหยิบเงินออกมา อย่างที่คนญี่ปุ่นนิยมเก็บไว้ในเสื้อ แล้วท่านก็เริ่มนวดแป้งนั้น นวด นวด... สรุปท่านได้กินซุปดันโงะรึเปล่าก็ไม่แน่ใจ แต่เมื่อพอไปถึงปราสาท เจ้าของร้านซุปดันโงะเกิดติดใจอะไรบางอย่างในตัวแป้งข้าวที่นวดๆแล้วนั้น จึงได้เดินทางไปพบท่านที่ปราสาทเพื่อขอวิธีการทำทันที
จากนั้นมาจึงได้เกิดการทำขนมดังโงะขึ้น และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย รวมถึงโคโซเดะโมจินี้ด้วยก็เป็นส่วนหนึ่งในขนมรสชาติหวานที่ทำจากแป้งข้าวเช่นเดียวกับดังโงะ และที่อูโตะนี้เองจึงมีของฝากที่มาจากที่มาอันน่าสนใจ ที่มีชื่อว่า โคโซเดะ โมจิ (โมจิที่เกิดจากเสื้อคลุม)
                                                                                                 (ถ่ายทอดเรื่องราวโดย SoRASoRa)


            จากเรื่องเล่าที่เล่ากันมาปากต่อปากนั้น ทำให้เราเห็นถึงสภาพชีวิตและสังคมของคนญี่ปุ่นในสมัยก่อนได้เลย โดยเฉพาะคนคุมาโมโต้ เวลาผู้มีอำนาจ (แทนตัวด้วยเจ้านายคนนั้น) เดินทางไปยังหมู่บ้านๆหนึ่ง ชีวิตเขาไม่ได้ยิ่งใหญ่ หากแต่บางทีก็ไม่มีเงิน ลืมพกโน่นพกนี่มา หรือพกแป้งแทนที่จะเป็นเงิน นี่อาจจะเป็นการเล่าเรื่องที่เรียกอารมณ์ขันให้แก่ชาวบ้านทั่วไปอย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ตามเมื่อได้รู้กันแล้วว่าเจ้าโคโซเดะ โมจินี่เกิดขึ้นมาได้เพราะอะไร ก็มาถึงคิวของส่วนผสมที่สอดไส้อยู่ภายในตัวโมจินี้กันบ้าง โดยทั่วไปคนญี่ปุ่นมักชอบกินโมจิที่มีถั่วแดงเป็นไส้ในพร้อมกับดื่มชาตามไปด้วย นอกจากจะเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย ช่วยป้องกันความเหน็บหนาวจากอากาศภายนอก ความหวานกับความขมที่ตัดกันยิ่งเพิ่มรสชาติความอร่อยให้ดีขึ้นอีกด้วย  

ทว่ากับโคโซเดะ โมจินี้ เราไม่อยากจะแนะนำไส้ถั่วแดงอันเป็นของกินประจำของคนญี่ปุ่นซึ่งเรารู้กันอยู่แล้ว เพราะไหนๆก็มาถึงที่อูโตะ เมืองต้นตำรับของเจ้าโคโซเดะ โมจินี้ทั้งที ไส้ที่เราอยากจะแนะนำก็คือ ไส้เกาลัด ถ้ามาขายที่ไทย เกาลัดคงมีราคาแพงเป็นร้อยสองร้อย แต่เนื่องจากเกาลัดเป็นของที่หาได้ทั่วไปในอูโตะ จึงเป็นของที่เราต้องลองสักครั้งเพื่อที่จะได้กลายเป็นชาวอูโตะขึ้นมาเต็มตัวเวลาที่เดินทางมายังที่นี่ ส่วนราคานั้นแพ็คหนึ่งมีประมาณ 10 ชิ้น อยู่ที่ 300 เยน (หรือประมาณ 90 บาท) เหมาะสมกับคุณค่าที่คู่ควรเป็นของฝากอย่างยิ่ง ที่สำคัญเมื่อค่อยๆเคี้ยวไปชิ้นหนึ่ง รสชาติของแป้งกับเกาลัดที่สัมผัสกันจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวนั้น เหมือนเกาลัดลูกโตๆกำลังผ่านเข้าไปในปากไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูก ความหวานและมันทำให้ลืมรสชาติเกาลัดเมืองไทยจนหมดสิ้น...
เอาล่ะ มาถึงตรงนี้แล้ว ผู้เขียนขออนุญาตจบลงแต่เพียงเท่านี้ ก่อนที่จะพาทั้งผู้อ่านและตัวเองหิวมากไปกว่าเดิม อย่าลืม! คุมาโมโตะ ไม่ใช่แดนดินที่ใครจะปล่อยผ่านไปได้ง่ายๆ หยุดยาวเมื่อไหร่เมื่อนั้นเจอกันที่คุมาโมโต้!
(พบกันตอนหน้า สวัสดี)



(เขียนและแปลจาก Mappuru นิตยสารท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่น โดย ARARESAMA ทั้งหมด)


กินแกงกะหรี่เผ็ดๆจะช่วยให้ลืมเรื่องร้ายๆลงได้!
ในเนื้อแกงกะหรี่ที่เราชอบทานกัน ยิ่งกินให้เผ็ดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้รู้ว่ามีสาร Curcumin อาศัยอยู่ด้วยนั่นเอง พระเอกของเรื่องในครั้งนี้ไม่ใช่แกงกะหรี่หรือผงกะหรี่ หรือจะกะหร... อย่างใด แต่เป็นพระเอกที่ทางวงการวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า Curcumin นั่นเอง
(H1 http://roguehealthandfitness.com/curcumin-extends-lifespan-fights-depression/)
เจ้า Curcumin เป็นพืชสีเหลืองที่จัดอยู่ในจำพวกของขิง เครื่องเทศที่มีรสชาติค่อนข้างร้อนแรง มักแฝงอยู่กับอาหารที่มีรสจัดจ้าน และแน่นอนว่าเครื่องเทศในแถบเอเชียเช่นนี้เป็นที่นิยมกันทั่วทุกมุมโลก ตั้งแต่ซีกตะวันออกจนปลายสุดของอเมริกาทีเดียว เป็นเหตุให้สมัยก่อนคนมักทำสงครามเพื่อแย่งชิงของพวกนี้กันอยู่บ่อยครั้ง จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หากจะนำนาย Curcumin นี้มาพิจารณาในความหล่อและมีเสน่ห์ของมันต่อไป
เป็นที่ทราบกันดีว่าแกงกะหรี่นั้นมีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย และได้แพร่ความอร่อยนี้เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นเดียวกัน ในประเทศไทยเองก็ได้รับความนิยมกันอยู่ไม่น้อย สำหรับอาหารที่มีรสจัดและฮาร์ดคอร์เช่นนี้
เมื่อเรารับประทานนาย Curcumin ที่ผสมอยู่ในแกงกะหรี่เข้าไป พระเอกตัวนี้จะเข้าไปช่วยระงับความทรงจำหรือช่วงเวลาอันแสนจะเลวร้ายลง ทำให้ลืมเรื่องนั้นไปชั่วขณะ นับว่าเป็นการทำงานที่ให้ผลดีกับร่างกายมนุษย์ด้วยเช่นกัน ยิ่งเมื่อยามต้องการความสดชื่นหรือความกระปรี้กระเปร่าด้วย
(H2)
หากยามกำลังประสบกับเรื่องอันแสนย่ำแย่ พร้อมกับต้องการที่จะลืมมันไป ทางเว็บไซต์ให้ความรู้ชื่อดังของญี่ปุ่นอย่าง Naver Japan จึงได้แนะนำให้คนญี่ปุ่นเองหันมากินแกงกะหรี่เพื่ออาจจะเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้พวกเขาลืมบาดแผลอันเจ็บปวดเหล่านั้นลงได้
ในทางทีมงานนักวิจัยของญี่ปุ่นเองได้ เปิดเผยว่านาย Curcumin มีผลระงับความทรงจำที่เลวร้ายของคนได้ระยะยาว โดยกล่าวว่า "Curcumin เป็นเหมือนยารักษาที่ช่วยระงับการทำงานของเซลล์สมองในส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความทรงจำให้เปลี่ยนไป" 
นอกจากนี้ Curcumin ยังถูกเรียกว่าเป็นยาที่รักษาและให้คุณค่าต่างๆอีกหลายอย่างด้วยกันแก่ร่างกาย เช่น การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น ช่วยในการทำงานของตับ ระบบไหลเวียนโลหิต และชำระล้างของเสียที่ตกค้างภายในร่างกาย ยิ่งในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ
อย่างไรก็ตามในหน้าหนาว ความรู้สึกที่เกิดอยากกินแกงกะหรี่กันขึ้นมานั้น นับว่าเป็นเรื่องต้องเฝ้าระวังกันทีเดียว! เพราะนั่นเป็นสัญญาณการเตือนจากร่างกายที่กำลังอยู่ในภาวการณ์ปรับตัว อาจจะด้วยสภาพของอากาศ หรือสภาวะแวดล้อมอย่างอื่น

ที่มาhttp://news.line.me/issue/lifestyle/eccbc0319363?utm_source=LINE&utm_medium=share&utm_campaign=none
(cr. Naver Japan แปลและเรียบเรียง : sorasora)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น